ข้าม

การเข้านอนทันทีหลังทานมื้ออิฟตาร์

อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอกได้

79% มีอาการแสบร้อนกลางอกในเวลากลางคืน

75% มีอาการแสบร้อนกลางอกจนนอนไม่หลับ

40% มีผลกระทบต่อการทำงานในวันถัดไป

การทานอาหารและนอนทันที อาจทำให้กรดในกระเพาะอาหาร

ไหลย้อนเข้าไปในหลอดอาหารและเกิดอาการแสบร้อนกลางอกได้

ทานอย่างไร ห่างไกลกรดไหลย้อน ในเดือนรอมฎอน

อย่าข้ามมื้อซุโฮร์

  • หากงดมื้อซุโฮร์จะกระตุ้นการทานมากเกินไปในมื้ออิฟตาร์ได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอกและอาหารไม่ย่อยจากกรดเกิน
  • มื้อซุโฮร์ควรทานอาหารที่มีประโยชน์และให้พลังงานอย่างเพียงพอ เช่น ข้าวและขนมปังโฮลวีท เนื้อสัตว์ เนื้อปลา ผัก ผลไม้ และนมไขมันต่ำ

หลีกเลี่ยงการทานของทอด และอาหารรสเผ็ด

เพราะอาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอกได้

หลีกเลี่ยงการนอนทันทีหลังทานมื้ออิฟตาร์

ควรเว้นระยะ 3-4 ชั่วโมง

ดื่มน้ำมากๆ

เพื่อช่วยลดความเสี่ยงภาวะขาดน้ำของร่างกายในช่วงอดอาหาร

ดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน

หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา และเครื่องดื่มโคล่า

เพราะจะทำให้กรดในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น
และคาเฟอีนทำให้หูรูดคลายตัวเกิดกรดไหลย้อนง่ายขึ้น

การทานอาหารที่เหมาะสมอย่างพอดี

เป็นหัวใจสำคัญของการรับมือกรดไหลย้อน
ในเดือนรอมฎอน

*เอกสารอ้างอิง

Shaker, R., Brunton, S., Elfant, A., Golopol, L., Ruoff, G., & Stanghellini, V. (2004). impact of night-time reflux on lifestyle- unrecognized issues in reflux disease. Alimentary pharmacology & therapeutics, 20, 3-13.

บทความ 1 มกราคม 2564