เรียบเรียงโดย
ทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านกรดไหลย้อน จากกาวิสคอน
อาการเรอเปรี้ยว แสบร้อนกลางอก เป็นอาการแสดงอย่างหนึ่งของโรคกรดไหลย้อน (GRED) พบได้บ่อยมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน ด้วยวิถีชีวิตที่ส่งเสริมให้มีพฤติกรรมก่อให้เกิดโรค เช่น การทานอาหารมื้อใหญ่ก่อนนอน การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพื่อสร้างเอเนอจี้ตอนเช้าก่อนไปทำงาน หรือแม้กระทั่งการอยู่ในสังคมที่มีความเครียด วันนี้กาวิสคอนจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคกรดไหลย้อน พร้อมบอกวิธีดูแล รักษา และป้องกันเบื้องต้น
โรคกรดไหลย้อน (GERD) คืออะไร
โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) เป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหาร ทำให้รู้สึกแสบร้อนบริเวณหน้าอก ลิ้นปี่ เรอเปรี้ยว และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น แสบคอ จุกที่คอ ซึ่งทุกคนอย่าชะล่าใจไป เพราะโรคกรดไหลย้อน สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้
อาการของโรคกรดไหลย้อน มีอะไรบ้าง
นอกจากอาการ แสบร้อนบริเวณหน้าอก ลิ้นปี่ และ อาการเรอเปรี้ยว
ที่ต้องเผชิญเมื่อเป็นกรดไหลย้อน อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้
- ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
- รู้สึกแน่นท้อง จุกเสียด ไม่สบายตัว
- จุกแน่นลิ้นปี่ บริเวณเหนือสะดือ
- คลื่นไส้ อาเจียน หลังรับประทานอาหาร
- แสบคอ จุกแน่นในลำคอ หรือมีความรู้สึกเจ็บเวลากลืนอาหาร
โรคกรดไหลย้อน แตกต่างจาก โรคกระเพาะอาหารอย่างไร
โรคกรดไหลย้อน และโรคกระเพาะอาหาร มีความแตกต่างกันทั้งในแง่ของสาเหตุ และอาการ โดยโรคกรดไหลย้อนเกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาสู่หลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกจนถึงลำคอ หรือมีอาการเรอเปรี้ยว ซึ่งมักเกิดขึ้นหลังมื้ออาหารหรือเมื่อนอนราบหลังรับประทานอาหารเสร็จ ในขณะที่โรคกระเพาะอาหารเกิดจากการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้มีอาการปวดแสบท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ ท้องอืด แน่นท้อง
สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อน
สาเหตุหลัก ๆ ของการเกิดโรคกรดไหลย้อนที่ทำให้เราแสบร้อนหน้าอก อาการเรอเปรี้ยว มีด้วยกัน 2 สาเหตุ คือ
- กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างทำงานผิดปกติ ทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาสู่หลอดอาหารได้
- การบีบตัวของหลอดอาหารหรือกระเพาะอาหารทำงานผิดปกติ
นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่นหรือปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคกรดไหลย้อน
เรอเปรี้ยว เช่น พฤติกรรมนอนทันทีหลังรับประทานอาหาร มีสภาวะหรือโรคเครียด สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ทานอาหารไขมันสูง รวมถึงการตั้งครรภ์
ใครเสี่ยงเป็นกรดไหลย้อน
- ผู้ที่มีพฤติกรรมนอนทันทีหลังรับประทานอาหาร
- ผู้ที่รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
- ผู้ที่รับประทานอาหารไขมันสูงหรืออาหารรสจัด
เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัดเป็นประจำ - ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน
- ผู้ที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มอัดแก๊ส
- ผู้ที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์
- ผู้ที่มีความเครียด สภาวะวิตกกังวล
- ผู้เป็นโรคเบาหวาน
การวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน
หากมีอาการแสบร้อนหน้าอก จุกเสียด เรอเปรี้ยว และอาการอื่น ๆ
จนกระทบต่อชีวิตประจำวัน สามารถเข้ารับการวินิจฉัย โดยแพทย์จะซักถามอาการ และพิจารณาให้การรักษาเบื้องต้น แต่ในกรณีที่มีอาการรุนแรงหรือให้การรักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น จะต้องเข้ารับการวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การตรวจวัดความเป็นกรด - ด่างในหลอดอาหาร การตรวจการบีบตัวของหลอดอาหาร เพื่อหาสาเหตุ และรับการรักษาที่ตรงจุด
วิธีรักษากรดไหลย้อน
เรอเปรี้ยววิธีแก้มีอะไรบ้าง มาดูวิธีการรักษากรดไหลย้อนหรืออาการจุกเสียด เรอเปรี้ยว ที่ทำให้เราอึดอัด ไม่สบายตัวกันเลย โดยแบ่งเป็น 3 วิธี คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การทานยา และการผ่าตัด
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้เป็นกรดไหลย้อน เช่น ไม่นอนทันทีหรือออกกำลังกายทันทีหลังรับประทานอาหาร งดสูบบุหรี่ เป็นต้น
- ทานยาบรรเทาอาการ เช่น ยาอัลจิเนต หรือยาลดกรดที่ช่วยป้องกันการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหาร
- เข้ารับการผ่าตัด สำหรับกรณีที่รักษาด้วยยาแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคกรดไหลย้อน
หากเป็นกรดไหลย้อน และปล่อยทิ้งไว้หรือละเลยไม่รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายได้
เช่น หลอดอาหารอักเสบ แผลในหลอดอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร เพราะฉะนั้นใครที่เริ่มมีอาการของโรคกรดไหลย้อน ไม่ว่าจะจุกเสียด แสบร้อนหน้าอก เรอเปรี้ยว ท้องอืด อย่าชะล่าใจไป ควรรีบรักษาหรือบรรเทาอาการในทันทีเลย
เป็นกรดไหลย้อน สามารถทานอะไรได้บ้าง
ใครที่กำลังเผชิญกับโรคกรดไหลย้อน มาดูลิสต์อาหารที่สามารถทานได้แบบไร้กังวล
- อาหารไขมันต่ำ และอาหารที่มีกากใยอาหารสูง เช่น อกไก่ เนื้อปลา ผัก ผลไม้ นมไขมันต่ำ
- อาหารไขมันดี เช่น อะโวคาโด น้ำมันมะกอก ถั่ว
- น้ำขิง ไล่ลม บรรเทาอาการท้องอืด และกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหาร
วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นกรดไหลย้อน
เมื่อเป็นกรดไหลย้อน สามารถบรรเทาอาการหรือดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอาการ หรือทานยาอัลจิเนต ที่ช่วยป้องกันการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหาร มีให้เลือกทั้งชนิดน้ำ ชนิดเม็ด และแบบซองพร้อมดื่ม สะดวก สามารถพกไปได้ทุกที่ ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร ลดอาการอาหารไม่ย่อยจากกรดเกินได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ควรอ่านฉลากก่อนใช้ยา
วิธีป้องกันโรคกรดไหลย้อน
สุดท้าย 5 วิธีป้องกันกรดไหลย้อนหรือโอกาสที่ก่อให้เกิดอาการเรอเปรี้ยว จุกเสียด แสบร้อนหน้าอก มีดังนี้
- ไม่นอนทันทีหลังรับประทานอาหาร ควรรอสักประมาณ
2 ถึง 3 ชั่วโมง เพื่อให้อาหารย่อยก่อน - ไม่ออกกำลังกายทันทีหลังรับประทานอาหาร
- หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นอาการ เช่น อาหารไขมันสูง อาหารรสจัด เครื่องที่มีคาเฟอีน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- แบ่งรับประทานอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ และเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
เพื่อช่วยลดแรงกดดันในกระเพาะอาหาร - และช่วยให้กระเพาะอาหารไม่ทำงานหนักจนเกินไป
- งดพฤติกรรมสูบบุหรี่
- พยายามควบคุมระดับความเครียด
โรคกรดไหลย้อน เสี่ยงเป็นมะเร็งได้หรือไม่?
โรคกรดไหลย้อนไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรงของมะเร็ง แต่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหลอดอาหารได้ หากเยื่อบุหลอดอาหารเกิดความผิดปกติ ใครที่เป็นโรคกรดไหลย้อน จึงควรดูแลรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อน
ใครที่กำลังเผชิญกับโรคกรดไหลย้อนหรืออาการแสบร้อนกลางอก จุกเสียด อาการเรอเปรี้ยว ควรรีบดูแลและบรรเทาอาการในทันทีเลย เริ่มต้นด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทานยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการ หากอาการยังไม่ดีขึ้น ควรเข้าพบแพทย์ก่อนที่อาการจะรุนแรงจนเป็นอันตราย
แหล่งอ้างอิง:
- การลดอาการเรอ แก๊ส และท้องอืด
- กลไกการเกิดเรอเปรี้ยวมีความเกี่ยวข้องกับโรคกรดไหลย้อน
- ความสัมพันธ์ระหว่างการเรอกับโรคกรดไหลย้อน